
รากฟันเทียม, รากเทียม กับ สไมล์ ซิกเนเจอร์

รากฟันเทียม คือ รากฟันใหม่ที่ทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยที่สามารถสร้างตัวฟันบนรากฟันเทียมได้หลายแบบอาทิ ครอบฟันแบบติดแน่น หรือถอดได้แล้วแต่กรณี รากฟันเทียม จะทำขึ้นจากวัสดุไทเทเนียมที่มีการยึดติดกับกระดูกได้ดี ทั้งนี้เพื่อจะได้ทดแทน และใช้งานได้เหมือนรากฟันธรรมชาติ การทำรากเทียมโดยทั่วไปจะมี 3 แบบ
- รากฟันเทียมทดแทนทันทีในวันที่ถอนฟันไป ซึ่งจะทำโดยการถอนฟันแล้วใส่รากเทียมทดแทนกลับไปในวันนั้นเลย พร้อมครอบฟันชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- รากฟันเทียม พร้อมกับตัวฟันทันที กรณีสูญเสียฟันไปก่อนหน้าโดยอาจจะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราว หรือครอบฟันถาวรให้ไปพร้อมกับการทำรากเทียม จะพิจารณาทำแล้วแต่กรณีที่เหมาะสม
- การทำรากเทียมด้วยวิธีทั่วไป คือจะแบ่งการรักษาเป็น 2 ครั้ง ในครั้งแรกจะทำการใส่ รากฟันเทียม ไปในกระดูกรองรับรากเทียม แล้วรอให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูก ซึ่งต้องรอระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ( ขึ้นอยู่กับระบบรากเทียมที่ใช้ และความสมบูรณ์ของกระดูกคนไข้เอง ) และหลังจากนั้น ก็จะกลับมาทำในส่วนของการใส่ฟัน บนรากฟันเทียมที่ยึดติดแน่นกับกระดูกแล้ว
การทำรากฟันเทียมใน 2 แบบแรกนั้นจะพิจารณาจากมวลกระดูกเป็นหลักซึ่งจะไม่สามารถทำได้กับทุกคน การเอ็กซเรย์ทั้งแบบธรรมดา และแบบ CTScan 3 มิติจะเป็นส่วนสำคัญมาก ในการช่วยทันตแพทย์พิจารณาในการตัดสินใจ ทำรากฟันเทียมในแต่ละประเภท
ประเภทของ รากฟันเทียม รากเทียม
รากฟันเทียม ทดแทนฟันหลายซี่

รากเทียมแทนฟันทั้งปาก

รากเทียมรองรับฟันปลอมแบบถอดได้

รากเทียมแบบ All-on-4, All-on-6,รากฟันเทียมรองรับฟันปลอมแบบติดแน่น

1. การทำรากฟันเทียม แบบซี่เดียว เป็นการทำรากเทียมที่ใช้ทดแทนฟันที่หายไปในแต่ละซี่
2. การทำรากเทียม แบบหลายตัว เป็นการทำที่มีรากเทียมอย่างน้อย 2 ตัว เพื่อยึดติดกับสะพานฟัน ในกรณีที่ฟันหายหลายซี่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน
3. การทำรากเทียมทั้งปาก เป็นการทำรากเทียมเพื่อทดแทนบริเวณที่ไม่มีฟันเหลืออยู่เลยซึ่งสามารถแยกออกเป็นแบบต่างๆได้ดั้งนี้
- การทำรากฟันเทียม ทั้งปากพร้อมด้วยสะพานฟัน จะเป็นการทำรากฟันเทียมมากกว่า 2 ตัวเพื่อช่วยยึดสะพานฟัน ทดแทนบริเวณที่ไม่มีฟันเลย
- การทำรากเทียม พร้อมกับฟันปลอมถอดได้ จะเป็นการทำฟันปลอมถอดได้แบบปกติ โดยใช้รากเทียม 2-6 ตัว แทนรากฟันในการยึดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันปลอม
- All-On-4 และ All-On-6 เป็นการรักษาประเภทใหม่ที่ต้องมีมวลกระดูกในการรองรับรากเทียมดี เนื่องจากการทำรากเทียมแบบนี้จะมีการใส่ฟันปลอมเป็นชิ้น แล้วยึดติดกับรากเทียมไปทันที ซึ่งในการทำการรักษาวิธีนี้ จะมีการใส่ฟันปลอมทั้งชิ้นให้ไปในทันที
ผลที่ได้รับจากการทำ รากฟันเทียม
- ทำให้มีการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าการทำเฉพาะสะพานฟัน หรือฟันปลอมถอดได้
- ไม่ต้องกรอฟันเพื่อใช้ยึดสะพานฟัน
- การทานอาหารง่ายขึ้น ระบบการบดเคี้ยวดีขึ้น
- การพูดคุยจะฟังง่ายขึ้นกว่าการทำฟันปลอมแบบถอดได้
- ช่วยไม่ให้สูญเสียเนื้อฟันและกระดูกรองรับเพิ่มขึ้น
- ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง
- ไม่มีการหลุด ลื่น ในที่สาธารณะเหมือนกับการทำฟันปลอมถอดได้
หมอรากฟันเทียม ที่สไมล์ ซิกเนเจอร์
อ.ดร.นพ.ทพ. บวร คลองน้อย DDS., อาจารย์หมอรากฟันเทียมมหิดล
- ทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แพทยศาสตรบัณฑิต, โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Doctors Der Zahnheilkunde (Dr. Med. Dent.), Friedrich-Alexander-University of Erlangen-Nuremberg
- วุฒิบัตร German Board สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
- วุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมแห่งประเทศไทย สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
- อาจารย์ประจำคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, หมอรากฟันเทียม มหิดล
ทันตแพทย์ กิตติโชติ บุญศรี DDS., MSc.,
- ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- Certificate Medical Science in Dentistry, University of London, UK
- MSc., Implant Dentistry, University College London (UCL) , UK
- อาจารย์ประจำคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, หมอรากฟันเทียม มหิดล
ทันตแพทย์ ธนิต สุ่นปาน DDS., หมอรากฟันเทียม มหิดล
- ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- MSC in Prosthodontics (International Program), มหาวิทยาลัยมหิดล
ทันตแพทย์ ชัยสุรัติ ถกลภักดี DDS., หมอรากฟันเทียม จุฬา
- ทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมแห่งประเทศไทย สาขาทันตกรรมประดิษฐ์